หลักสูตร
ศูนย์การเรียน กศน.เขตเอิสท์โฟลด์ ประเทศนอร์เวย์ เปิดสอนหลักสูตร 3 ระดับ คือ
1. ระดับประถมศึกษา
2. ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
3. ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
เอกสารการสมัคร (เอกสารสำเนาทุกแผ่น ให้เขียนสำเนาถูกต้องและลงชื่อกำกับ)
- สำเนาใบวุฒิเดิม (ป.6/ม.ต้น)
- สำเนาทะเบียนบ้าน (ไทย)
- สำเนาบัตรประชาชน(ไทย)
- สำเนาพาสปอร์ต
- สำเนาบัตรบัตรหรือเอกสารแสดงการพำนักในต่างประเทศ
- รูปถ่าย หน้าตรง
- เอกสารอื่นๆ ถ้ามี เช่น ใบเปลี่ยนชื่อ นามสกุล เป็นต้น
- กรณีเทียบโอน ให้ส่งสำเนาวุฒิที่ใช้เทียบโอนมาด้วย
ระยะเวลาเรียน
ภาคเรียนที่ 1 เปิดภาคเรียน 16 พฤษภาคม ถึง 11 ตุลาคม ของทุกปี
ภาคเรียนที่ 2 เปิดภาคเรียน 1 พฤศจิกายน ถึง 1 เมษายน ของทุกปี
สื่อการเรียน/หนังสือเรียน ใช้สื่อการเรียนของ กศน.
ระยะเวลาเรียนตลอดหลักสูตร 4 ภาคเรียน (ตามแผนการเรียนที่กำหนด)
โครงสร้างหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
ที่ |
สาระการเรียนรู้ |
จำนวนหน่วยกิต |
|||||
ประถมศึกษา |
มัธยมศึกษาตอนต้น |
มัธยมศึกษาตอนปลาย |
|||||
วิชาบังคับ |
วิชาเลือก |
วิชาบังคับ |
วิชาเลือก |
วิชาบังคับ |
วิชาเลือก |
||
1 |
ทักษะการเรียนรู้ |
5 |
- |
5 |
- |
5 |
4 |
2 |
ความรู้พื้นฐาน |
12 |
8 |
16 |
12 |
20 |
16 |
3 |
การประกอบอาชีพ |
8 |
- |
8 |
- |
8 |
4 |
4 |
ทักษะการดำเนินชีวิต |
5 |
2 |
5 |
2 |
5 |
4 |
5 |
การพัฒนาสังคม |
6 |
2 |
6 |
2 |
6 |
4 |
|
รวม |
36 |
12 |
40 |
16 |
44 |
32 |
48 หน่วยกิต |
56 หน่วยกิต |
76 หน่วยกิต |
|||||
ลงทะเบียน |
14 หน่วยกิต |
17 หน่วยกิต |
23 หน่วยกิต |
||||
กิจกรรม กพช. |
200 ชั่วโมง |
200 ชั่วโมง |
200 ชั่วโมง |
||||
สรุปจำนวนรายวิชา |
15 รายวิชา |
29 รายวิชา |
37 รายวิชา |
สำหรับคนไทยในต่างประเทศ
การลงทะเบียนรายวิชา
การลงทะเบียนเรียนตามโครงสร้างหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 ให้ลงทะเบียนเรียนเป็นรายวิชาและตามจำนวนหน่วยกิต ในแต่ละภาคเรียนดังนี้
1. ระดับประถมศึกษา ลงทะเบียนเรียนทั้งหมด ไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต ให้ลงทะเบียนเรียนได้ภาคเรียนละไม่เกิน 14 หน่วยกิต
2. ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ลงทะเบียนเรียนทั้งหมด ไม่น้อยกว่า 56 หน่วยกิต ให้ลงทะเบียนเรียนได้ภาคเรียนละไม่เกิน 17 หน่วยกิต
3. ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ลงทะเบียนเรียนทั้งหมด ไม่น้อยกว่า 76 หน่วยกิต ให้ลงทะเบียนเรียนได้ภาคเรียนละไม่เกิน 23 หน่วยกิต
แผนการลงทะเบียนเรียน
{pdf=/images/KSN/2021/regis_Plan.pdf|80%|800|Native}
การวัดและประเมินผลรายวิชา
สัดส่วนคะแนนของการวัดและประเมินผลรายวิชา จาก 100 คะแนน
1.1. การวัดและประเมินผลระหว่างภาคเรียน สัดส่วน 60 คะแนน ได้จาก
- แบบฝึกหัดและหรือการทดสอบย่อย 20 คะแนน
- บันทึกการเรียนรู้ 20 คะแนน
- รายงานหรือโครงงาน 20 คะแนน
1.2. การวัดผลประเมินผลปลายภาคเรียน สัดส่วน 40 คะแนน
เกณฑ์การจบหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
1. ผ่านเกณฑ์การประเมินการเรียนรู้รายวิชาในแต่ละระดับการศึกษา ตามโครงสร้างหลักสูตร
1.1. ระดับประถมศึกษา ไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต
1.2. ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ไม่น้อยกว่า 56 หน่วยกิต
1.3. ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายไม่น้อยกว่า 76 หน่วยกิต
2. เข้าร่วมกิจกรรม และผ่านกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต ( กพช) ไม่น้อยกว่า 200 ชั่วโมง
3. ผ่านการประเมินคุณธรรม ในระดับพอใช้ขึ้นไป
4. เข้ารับการประเมินคุณภาพการศึกษานอกระบบระดับชาติ ( สอบ N Net)
{pdf=/images/KSN/2021/Manual.pdf|100%|800|native}
- Details
- NongGoi
- Hits: 1496
หลักสูตรการศึกษานอกระบบ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551
กรอบการวัดและประเมินผล
1. การวัดและประเมินผลรายวิชา
2. การประเมินคุณธรรม
3. การประเมินกิจกรรม กพช.
4. การประเมินคุณภาพการศึกษานอกระบบระดับชาติ
- Details
- NongGoi
- Hits: 2070
แนวทางการจัดทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต (กพช.)
การจัดการศึกษาตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 สำหรับคนไทยในต่างประเทศ ซึ่งสำนักงาน กศน. กำหนดให้ผู้เรียนต้องทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต จำนวนไม่น้อยกว่า 200 ชั่วโมง เป็นเงื่อนไขในการจบหลักสูตร โดยเน้นให้เป็นกิจกรรมที่มีส่วนช่วยพัฒนาตนเอง ครอบครัว ชุมชน และสังคม เพื่อให้ดำรงอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข
³วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้เรียนมีโอกาสใช้กระบวนการกลุ่มแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ โดยฝึกทักษะ การคิด แก้ปัญหา และความมีเหตุผล
2. เพื่อปลูกฝังให้ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และสามารถอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
3. เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาตนเองและมีส่วนร่วมในการพัฒนา ครอบครัว ชุมชน และสังคม ทำให้เกิดความรู้สึกผูกพัน เป็นส่วนหนึ่งของชุมชนและสังคม
³ กรอบการจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต (ผู้เรียน)
1. การลงทะเบียนจัดทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต (ผู้เรียน) (กพช.1) ในภาคเรียนที่ 1
2. การจัดกิจกรรมภาคปฏิบัติ (กพช.2 และ กพช.3) 200 ชั่วโมง (ภาคเรียนละ 50 ชั่วโมง) แบ่งเป็น 2 ประเภท โดยมีขอบข่ายเนื้อหา ดังนี้
2.1 กิจกรรมการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นการพัฒนาทักษะชีวิตของตนเอง และครอบครัว (กพช. 2) โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของผู้เรียน เช่น
2.1.1 สุขภาพกาย/จิต 2.1.2 คุณธรรม จริยธรรม
2.1.3 เศรษฐกิจพอเพียง 2.1.4 การพัฒนาตนเองในด้านต่างๆ เช่น การอบรมภาษาไทย ภาษาอังกฤษ คอมพิวเตอร์ วิทยาศาสตร์ กฎหมายที่เกี่ยวข้องในชีวิตประจำวัน
2.1.5 ยาเสพติด 2.1.6 ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
ฯลฯ
ตัวอย่างโครงการ เช่น รู้รับ รู้จ่าย รู้ได้ รู้เก็บ อบรมโครงการต่าง ๆ การปฏิบัติธรรมในวันสำคัญต่าง ๆ ตามหลักศาสนาที่นับถือ เตรียมตัวเตรียมใจรับภัยธรรมชาติ กิจกรรมกีฬาเพื่อส่งเสริมสุขภาพ การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ฯลฯ
2.2 กิจกรรมการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นการพัฒนาชุมชน และสังคม (กพช.3) โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน เช่น
- การพัฒนาชุมชนและสังคม
- การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- ความจงรักภักดีต่อสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ศิลปะ วัฒนธรรมและประเพณี
- ภูมิปัญญาท้องถิ่นและแหล่งเรียนรู้ ประชาธิปไตย
ตัวอย่างโครงการ เช่น หน้าบ้านน่ามอง ลดโลกร้อนด้วยมือเรา อนุรักษ์รักวัฒนธรรม คลังสมองร่วม
พัฒนาชุมชน เรียนรู้ประชาธิปไตยใส่ใจรักษาสิทธิ กิจกรรมาจิตอาสา กศน. “เราทำความดีด้วยหัวใจ”
ฯลฯ
³ บทบาทหน้าที่ของผู้เกี่ยวข้องกับการจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต (กพช.)
การจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต (กพช.) จะมีผู้เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย
1. หัวหน้าสถานศึกษา/ศูนย์การเรียนฯ
2. ครูและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง
3. ผู้เรียน
4. ชุมชน/ภาคีเครือข่าย
5. คณะกรรมการประเมินกิจกรรม
³ ขั้นตอนดำเนินการกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต
1. ผู้เรียนลงทะเบียนกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต ในภาคเรียนแรก โดยเขียนและเสนอโครงการภาคปฏิบัติ (กพช.2 ,กพช.3) ตามแบบที่กำหนดโดยมีครูที่รับผิดชอบเป็นที่ปรึกษา ในภาคเรียนแรกเป็นต้นไป
2. เมื่อได้รับอนุมัติโครงการแล้ว ผู้เรียนต้องประสานงานกับบุคคลและหน่วยงานเกี่ยวข้อง ก่อนลงมือทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต
3. สถานศึกษาจะแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินโครงการ ตามเกณฑ์ที่กำหนด 4. ผู้เรียนปฏิบัติการตามโครงการที่ได้รับอนุมัติ โดยอยู่ในการกำกับ ดูแลของครูที่ปรึกษาโครงการตามข้อ 1
5. คณะกรรมการประเมินโครงการ ติดตามผลการดำเนินงานตามเกณฑ์กำหนด
6. ผู้เรียนจัดทำเอกสารรายงานผลการดำเนินงานตามโครงการส่งสถานศึกษาเมื่อโครงการสิ้นสุดลงแล้ว
³คณะกรรมการพิจารณาและประเมินผลโครงการกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต (กพช.)
การจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตจำเป็นต้องมีคณะกรรมการประเมินโครงการ อย่างน้อย 3 คน ประกอบด้วยบุคคลดังต่อไปนี้
1. ครูผู้รับผิดชอบกลุ่มนักศึกษาที่ทำกิจกรรมการพบกลุ่มเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต
(ครูประจำกลุ่ม)
2. เจ้าหน้าที่งานการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานของศูนย์การเรียนฯ
3. บุคคลในชุมชน หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับการทำโครงการกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตที่สถานศึกษาเห็นสมควร ซึ่งเป็นผู้รับรองว่าผู้เรียนได้ทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต (กพช.) ในชุมชนหรือในองค์กรนั้นจริง
4. การแต่งตั้งคณะกรรมการดังกล่าวให้เสนอผู้บริหารสถานศึกษา
³การติดตามและประเมินโครงการกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต (กพช.)
การติดตามและประเมินแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ด้วยกัน คือ
- ระหว่างดำเนินโครงการ
- เสร็จสิ้นโครงการ
³การประเมินผลสำเร็จของโครงการกิจกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิต (กพช.)
การประเมินผลความสำเร็จของโครงการกิจกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิต (กพช.) ที่ผู้เรียนได้ปฏิบัติเสร็จสิ้นแล้วนั้น ให้พิจารณาว่า
1. โครงการสำเร็จตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนดว่าไว้ในโครงการกิจกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิต (กพช.)
2. ผลงานที่สำเร็จเป็นไปตามรายละเอียดการประเมินผลการปฏิบัติโครงการกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต
³การกำหนดจำนวนชั่วโมงและการพิจารณาให้ความเห็นชอบการทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต (กพช.) ภาคปฏิบัติให้สถานศึกษาพิจารณาตามประเด็น ดังต่อไปนี้
1. กิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตเพื่อพัฒนาตนเองและครอบครัว ประกอบด้วย
1.1 ประโยชน์ที่ตนเองได้รับ
1.2 ประโยชน์ที่ครอบครัวได้รับ
1.3 ระดับความยากง่ายในการปฏิบัติงานต้องใช้ความคิด กำลังงานรวมทั้งมีขั้นตอนในการดำเนินที่ซับซ้อน
1.4 การมีส่วนร่วมของผู้เรียนและครอบครัว
1.5 ความเหมาะสมในการใช้เวลาในการปฏิบัติงานตามโครงการ
1.6 ปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จ
1.7 ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
2. กิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตเพื่อพัฒนาชุมชนและสังคม ประกอบด้วย
2.1 ประโยชน์ที่ชุมชนและสังคมจะได้รับหรือเป็นบริการที่ช่วยส่งเสริมมาตรฐาน หรือพัฒนาคุณภาพชีวิตทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครอง ตลอดจนสนับสนุนการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย และอื่นๆ ที่ตอบสนองนโยบายการพัฒนาประเทศ
2.2 การมีส่วนร่วมของคนในชุมชน เป็นกิจกรรมที่จัดแล้วคนในชุมชนเห็นความสำคัญและให้ความร่วมมือ ทั้งด้านความคิด แรงงาน วัสดุอุปกรณ์ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
2.3 ระดับความยากง่ายในการปฏิบัติงาน เป็นกิจกรรมที่ต้องใช้ความคิด กำลังแรงงาน รวมทั้งมีขั้นตอนในการดำเนินงานที่ซับซ้อน
2.4 การใช้กระบวนการกลุ่ม เป็นกิจกรรมที่ทำให้เกิดความร่วมมือในการทำงานในการช่วยกันคิด การประสานงาน การแบ่งงาน และความรับผิดชอบ ทำให้เกิดความสามัคคี เสียสละ จิต
2.5 การใช้ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน เป็นกิจกรรมที่ใช้เวลาในการปฏิบัติงานให้มีความเหมาะสมกับกิจกรรมโครงการที่นำเสนอ
2.6 ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต เช่น บุคลากร วัสดุ งบประมาณ และการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนให้เป็นไปอย่างประหยัด และประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม
2.7 มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เป็นกิจกรรมที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์พร้อมที่จะลงมือปฏิบัติแล้วทำให้เกิดการพัฒนาตนเอง ครอบครัว ชุมชน สังคม สิ่งแวดล้อม ตลอดจนสามารถพัฒนาได้อย่างต่อเนื่องและอย่างยั่งยืน
³การประเมินผล การประเมินผลโครงการภาคปฏิบัติดำเนินการ ดังนี้
2.1 การประเมินผลการจัดทำโครงการกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตเพื่อพัฒนาตนเองและครอบครัว (กพช.2) โดยคณะกรรมการพิจารณาและประเมินผลการปฏิบัติโครงการจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต ดังต่อไปนี้
ตารางประเมินผลการทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตเพื่อพัฒนาตนเองและครอบครัว
ประเด็นที่ใช้พิจารณา |
คะแนนเต็ม |
หมายเหตุ |
|
เต็ม |
ที่ได้ |
||
1. ประโยชน์ที่ตนเองได้รับ 2. ประโยชน์ที่ครอบครัวได้รับ 3. ระดับความยากง่ายในการปฏิบัติงานต้องใช้ความคิด กำลังงานรวมทั้งมีขั้นตอนในการดำเนินที่ซับซ้อน 4. การมีส่วนร่วมของผู้เรียนและครอบครัว 5. ความเหมาะสมในการใช้เวลาในการปฏิบัติงานตามโครงการ 6. ปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จ 7. ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ |
20 20 20
10 10
10 10 |
|
|
รวม |
100 |
|
|
หมายเหตุ ผู้เรียนต้องได้คะแนนรวมไม่น้อยกว่าร้อยละ 70
2.2 การประเมินผลการจัดทำโครงการกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตเพื่อพัฒนาชุมชนและสังคม (กพช.3) โดยคณะกรรมการพิจารณาและประเมินผลการปฏิบัติโครงการจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต ดังต่อไปนี้
ตารางประเมินผลการทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตเพื่อพัฒนาชุมชนและสังคม
ประเด็นที่ใช้พิจารณา |
คะแนนเต็ม |
หมายเหตุ |
|
เต็ม |
ที่ได้ |
||
1. ประโยชน์ที่ชุมชนและสังคมได้รับ 2. การใช้กระบวนการกลุ่ม 3. ความยากง่ายในการดำเนินงาน 4. การมีส่วนร่วมของคนในชุมชน 5. ความเหมาะสมในการใช้เวลาปฏิบัติงาน 6. ปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จ 7. ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ |
20 20 20 10 10 10 10 |
|
|
รวม |
100 |
|
|
หมายเหตุ ผู้เรียนต้องได้คะแนนรวมไม่น้อยกว่าร้อยละ 70
³เกณฑ์การพิจารณาการประเมินกิจกรรมพัฒนาคุณภาพภาคปฏิบัติ (กพช.2, กพช.3)
ผู้เรียนต้องได้คะแนนรวมไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 จึงจะถือว่าผ่าน
³เกณฑ์การผ่านกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต (กพช.)
- ผู้เรียนต้องมีเวลาเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ภาคทฤษฎีและปฏิบัติกิจกรรมภาคปฏิบัติ รวมไม่น้อยกว่า 200 ชั่วโมง
- โครงการภาคปฏิบัติต้องบรรลุวัตถุประสงค์ โดยมีชิ้นงานและเอกสารรายงานแสดง
³แบบประเมินและแบบรายงานกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต
การประเมินกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต จำเป็นต้องมีการรายงานผลการประเมินเป็นรายภาคเรียน เพื่อบันทึกข้อมูลรวบรวมไว้ในระบบ IT เป็นรายบุคคล ดังนั้น เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ปฏิบัติให้สามารถปฏิบัติงานได้ถูกต้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกลุ่มเป้าหมายพิเศษ จึงกำหนดแบบฟอร์มการประเมินและแบบรายงานผลการประเมินแสดงไว้ดังนี้
- Details
- NongGoi
- Hits: 13148
ปรับเกฑ์การวัดและการประเมินผลและการกำหนดระยะเวลาในการมีสิทธิ์เข้าสอบปลายภาคเรียนหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551
ขอให้นักศึกษาทุกท่านอ่านทำความเข้าใจและปฏิบัติตาม
หากมีข้อสงสัย สอบถามมาได้ที่ (+47) 99 85 32 86
หรือที่อีเมล์
- Details
- NongGoi
- Hits: 1934
การจัดการศึกษาแต่ละระดับใช้เวลาเรียน 4 ภาคเรียน (2 ปีการศึกษา) ยกเว้นกรณีที่มีการเทียบโอนผลการเรียนทั้งนี้ผู้เรียนต้องลงทะเบียนเรียนอยู่ในสถานศึกษาอย่างน้อย 1 ภาคเรียน
- Details
- NongGoi
- Hits: 1618
ในการสมัครเป็นนักศึกษา กศน. ทั้ง 3 ระดับ คือ ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ผู้สมัครจะต้องมีคุณสมบัติของนักศึกษา ดังนี้
1. ระดับประถมศึกษา
- มีสัญชาติไทย
- เป็นผู้ที่พ้นเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับ หรือเป็นผู้ที่ได้รับการยกเว้นตาม พ.ร.บ.ประถมศึกษา หรือเป็นผู้ด้อยโอกาสได้รับการศึกษาภาคเรียนปกติหรือเป็นผู้ที่ได้รับการยกเว้นตามกฎกระทรวง
- ไม่จำกัดพื้นฐานความรู้
2. ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
1.มีสัญชาติไทยหรือมีคุณสมบัติตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยหลักฐานวันเดือนปีเกิดในการรับนักเรียนนักศึกษาเข้าสถานศึกษา พ.ศ.2535
2.สอบได้วุฒิอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้
2.1 ประถมศึกษาปีที่ 6 (ป.6)
2.2 ประโยคประถมศึกษาตอนต้น (ป.7)
2.3 การศึกษาผู้ใหญ่แบบเบ็ดเสร็จ ระดับที่ 3
2.4 หลักสูตรการศึกษานอกโรงเรียนสายสามัญระดับประถมศึกษา
2.5 วุฒิอื่นที่กระทรวงศึกษาธิการประกาศให้เทียบเท่าระดับประถมศึกษาปีที่ 6 ตามหลักสูตรประถมศึกษา พศ.2521
2.6 ใบรับรองวุฒิการสอบเทียบความรู้ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เพื่อสิทธิบางอย่าง
2.7 ใบรับรองวุฒิการสอบเทียบความรู้ชั้นประถมศึกษาปีที่ 7 เพื่อสิทธิบางอย่าง
2.8 เคยศึกษาหลักสูตรต่างประเทศ ระดับชั้น(เกรด) การศึกษาอย่างน้อยปีที่ 7
2.9 สอบได้ระดับชั้น(เกรด) การศึกษาอย่างน้อยปีที่ 7
2.10 ผู้สอบตกชั้นประถมศึกษาปีที่ 7
สำหรับพระภิกษุ สามเณรที่จะสมัครเข้าเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นให้เป็นไปตามที่มหาเถรสมาคมกำหนด
3. ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
1.มีสัญชาติไทยหรือมีคุณสมบัติตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยหลักฐานวันเดือนปีเกิด ในการรับนักเรียนนักศึกษาเข้าสถานศึกษา พ.ศ. 2535
2.สอบได้วุฒิอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้
2.1 ประโยคมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.ศ.3)
2.2 มัธยมศึกษาปีที่ 3 (ม.3)
2.3 การศึกษาผู้ใหญ่แบบเบ็ดเสร็จ ระดับ 4
2.4 จบการศึกษาตามหลักสูตรการศึกษานอกโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
2.5 เปรียญธรรม 3 ประโยค
2.6 วุฒิอื่นที่กระทรวงศึกษาธิการประกาศให้เทียบเท่าระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ตามหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น พ.ศ. 2521
2.7 เคยศึกษาหลักสูตรต่างประเทศ ระดับชั้น (เกรด) การศึกษาปีที่ 10 หรือสอบได้ระดับชั้น (เกรด) การศึกษาอย่างน้อยปีที่ 10
สำหรับพระภิกษุ สามเณรที่จะสมัครเข้าเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นให้เป็นไปตามที่มหาเถรสมาคมกำหนด
การขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษา หลักฐานในการสมัครเรียน
1. ใบสมัครการเป็นนักศึกษา
2. ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านพร้อมสำเนา จำนวน 1 ฉบับ
3. สำเนาบัตรประชาชน จำนวน 1 ฉบับ
4. หนังสือสำคัญแสดงวุฒิการศึกษาตัวจริงพร้อมสำเนา จำนวน 1 ฉบับ
5. รูปถ่ายขนาด 1นิ้ว จำนวน 3 รูป ไม่สวมหมวก ไม่สวมแว่นตา (ถ่ายไว้ไม่เกิน 6 เดือน)
6. สำเนาเอกสารการเปลี่ยนชื่อ-สกุล/ทะเบียนสมรส ฯลฯ(ถ้ามี) จำนวน 1 ฉบับ
7. เอกสารสำเนาทุกฉบับต้องรับรองสำเนาถูกต้อง
- Details
- NongGoi
- Hits: 1818