แนวทางการจัดทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต (กพช.)
การจัดการศึกษาตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 สำหรับคนไทยในต่างประเทศ ซึ่งสำนักงาน กศน. กำหนดให้ผู้เรียนต้องทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต จำนวนไม่น้อยกว่า 200 ชั่วโมง เป็นเงื่อนไขในการจบหลักสูตร โดยเน้นให้เป็นกิจกรรมที่มีส่วนช่วยพัฒนาตนเอง ครอบครัว ชุมชน และสังคม เพื่อให้ดำรงอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข
³วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้เรียนมีโอกาสใช้กระบวนการกลุ่มแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ โดยฝึกทักษะ การคิด แก้ปัญหา และความมีเหตุผล
2. เพื่อปลูกฝังให้ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และสามารถอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
3. เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาตนเองและมีส่วนร่วมในการพัฒนา ครอบครัว ชุมชน และสังคม ทำให้เกิดความรู้สึกผูกพัน เป็นส่วนหนึ่งของชุมชนและสังคม
³ กรอบการจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต (ผู้เรียน)
1. การลงทะเบียนจัดทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต (ผู้เรียน) (กพช.1) ในภาคเรียนที่ 1
2. การจัดกิจกรรมภาคปฏิบัติ (กพช.2 และ กพช.3) 200 ชั่วโมง (ภาคเรียนละ 50 ชั่วโมง) แบ่งเป็น 2 ประเภท โดยมีขอบข่ายเนื้อหา ดังนี้
2.1 กิจกรรมการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นการพัฒนาทักษะชีวิตของตนเอง และครอบครัว (กพช. 2) โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของผู้เรียน เช่น
2.1.1 สุขภาพกาย/จิต 2.1.2 คุณธรรม จริยธรรม
2.1.3 เศรษฐกิจพอเพียง 2.1.4 การพัฒนาตนเองในด้านต่างๆ เช่น การอบรมภาษาไทย ภาษาอังกฤษ คอมพิวเตอร์ วิทยาศาสตร์ กฎหมายที่เกี่ยวข้องในชีวิตประจำวัน
2.1.5 ยาเสพติด 2.1.6 ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
ฯลฯ
ตัวอย่างโครงการ เช่น รู้รับ รู้จ่าย รู้ได้ รู้เก็บ อบรมโครงการต่าง ๆ การปฏิบัติธรรมในวันสำคัญต่าง ๆ ตามหลักศาสนาที่นับถือ เตรียมตัวเตรียมใจรับภัยธรรมชาติ กิจกรรมกีฬาเพื่อส่งเสริมสุขภาพ การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ฯลฯ
2.2 กิจกรรมการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นการพัฒนาชุมชน และสังคม (กพช.3) โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน เช่น
- การพัฒนาชุมชนและสังคม
- การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- ความจงรักภักดีต่อสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ศิลปะ วัฒนธรรมและประเพณี
- ภูมิปัญญาท้องถิ่นและแหล่งเรียนรู้ ประชาธิปไตย
ตัวอย่างโครงการ เช่น หน้าบ้านน่ามอง ลดโลกร้อนด้วยมือเรา อนุรักษ์รักวัฒนธรรม คลังสมองร่วม
พัฒนาชุมชน เรียนรู้ประชาธิปไตยใส่ใจรักษาสิทธิ กิจกรรมาจิตอาสา กศน. “เราทำความดีด้วยหัวใจ”
ฯลฯ
³ บทบาทหน้าที่ของผู้เกี่ยวข้องกับการจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต (กพช.)
การจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต (กพช.) จะมีผู้เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย
1. หัวหน้าสถานศึกษา/ศูนย์การเรียนฯ
2. ครูและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง
3. ผู้เรียน
4. ชุมชน/ภาคีเครือข่าย
5. คณะกรรมการประเมินกิจกรรม
³ ขั้นตอนดำเนินการกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต
1. ผู้เรียนลงทะเบียนกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต ในภาคเรียนแรก โดยเขียนและเสนอโครงการภาคปฏิบัติ (กพช.2 ,กพช.3) ตามแบบที่กำหนดโดยมีครูที่รับผิดชอบเป็นที่ปรึกษา ในภาคเรียนแรกเป็นต้นไป
2. เมื่อได้รับอนุมัติโครงการแล้ว ผู้เรียนต้องประสานงานกับบุคคลและหน่วยงานเกี่ยวข้อง ก่อนลงมือทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต
3. สถานศึกษาจะแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินโครงการ ตามเกณฑ์ที่กำหนด 4. ผู้เรียนปฏิบัติการตามโครงการที่ได้รับอนุมัติ โดยอยู่ในการกำกับ ดูแลของครูที่ปรึกษาโครงการตามข้อ 1
5. คณะกรรมการประเมินโครงการ ติดตามผลการดำเนินงานตามเกณฑ์กำหนด
6. ผู้เรียนจัดทำเอกสารรายงานผลการดำเนินงานตามโครงการส่งสถานศึกษาเมื่อโครงการสิ้นสุดลงแล้ว
³คณะกรรมการพิจารณาและประเมินผลโครงการกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต (กพช.)
การจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตจำเป็นต้องมีคณะกรรมการประเมินโครงการ อย่างน้อย 3 คน ประกอบด้วยบุคคลดังต่อไปนี้
1. ครูผู้รับผิดชอบกลุ่มนักศึกษาที่ทำกิจกรรมการพบกลุ่มเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต
(ครูประจำกลุ่ม)
2. เจ้าหน้าที่งานการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานของศูนย์การเรียนฯ
3. บุคคลในชุมชน หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับการทำโครงการกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตที่สถานศึกษาเห็นสมควร ซึ่งเป็นผู้รับรองว่าผู้เรียนได้ทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต (กพช.) ในชุมชนหรือในองค์กรนั้นจริง
4. การแต่งตั้งคณะกรรมการดังกล่าวให้เสนอผู้บริหารสถานศึกษา
³การติดตามและประเมินโครงการกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต (กพช.)
การติดตามและประเมินแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ด้วยกัน คือ
- ระหว่างดำเนินโครงการ
- เสร็จสิ้นโครงการ
³การประเมินผลสำเร็จของโครงการกิจกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิต (กพช.)
การประเมินผลความสำเร็จของโครงการกิจกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิต (กพช.) ที่ผู้เรียนได้ปฏิบัติเสร็จสิ้นแล้วนั้น ให้พิจารณาว่า
1. โครงการสำเร็จตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนดว่าไว้ในโครงการกิจกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิต (กพช.)
2. ผลงานที่สำเร็จเป็นไปตามรายละเอียดการประเมินผลการปฏิบัติโครงการกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต
³การกำหนดจำนวนชั่วโมงและการพิจารณาให้ความเห็นชอบการทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต (กพช.) ภาคปฏิบัติให้สถานศึกษาพิจารณาตามประเด็น ดังต่อไปนี้
1. กิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตเพื่อพัฒนาตนเองและครอบครัว ประกอบด้วย
1.1 ประโยชน์ที่ตนเองได้รับ
1.2 ประโยชน์ที่ครอบครัวได้รับ
1.3 ระดับความยากง่ายในการปฏิบัติงานต้องใช้ความคิด กำลังงานรวมทั้งมีขั้นตอนในการดำเนินที่ซับซ้อน
1.4 การมีส่วนร่วมของผู้เรียนและครอบครัว
1.5 ความเหมาะสมในการใช้เวลาในการปฏิบัติงานตามโครงการ
1.6 ปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จ
1.7 ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
2. กิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตเพื่อพัฒนาชุมชนและสังคม ประกอบด้วย
2.1 ประโยชน์ที่ชุมชนและสังคมจะได้รับหรือเป็นบริการที่ช่วยส่งเสริมมาตรฐาน หรือพัฒนาคุณภาพชีวิตทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครอง ตลอดจนสนับสนุนการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย และอื่นๆ ที่ตอบสนองนโยบายการพัฒนาประเทศ
2.2 การมีส่วนร่วมของคนในชุมชน เป็นกิจกรรมที่จัดแล้วคนในชุมชนเห็นความสำคัญและให้ความร่วมมือ ทั้งด้านความคิด แรงงาน วัสดุอุปกรณ์ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
2.3 ระดับความยากง่ายในการปฏิบัติงาน เป็นกิจกรรมที่ต้องใช้ความคิด กำลังแรงงาน รวมทั้งมีขั้นตอนในการดำเนินงานที่ซับซ้อน
2.4 การใช้กระบวนการกลุ่ม เป็นกิจกรรมที่ทำให้เกิดความร่วมมือในการทำงานในการช่วยกันคิด การประสานงาน การแบ่งงาน และความรับผิดชอบ ทำให้เกิดความสามัคคี เสียสละ จิต
2.5 การใช้ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน เป็นกิจกรรมที่ใช้เวลาในการปฏิบัติงานให้มีความเหมาะสมกับกิจกรรมโครงการที่นำเสนอ
2.6 ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต เช่น บุคลากร วัสดุ งบประมาณ และการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนให้เป็นไปอย่างประหยัด และประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม
2.7 มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เป็นกิจกรรมที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์พร้อมที่จะลงมือปฏิบัติแล้วทำให้เกิดการพัฒนาตนเอง ครอบครัว ชุมชน สังคม สิ่งแวดล้อม ตลอดจนสามารถพัฒนาได้อย่างต่อเนื่องและอย่างยั่งยืน
³การประเมินผล การประเมินผลโครงการภาคปฏิบัติดำเนินการ ดังนี้
2.1 การประเมินผลการจัดทำโครงการกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตเพื่อพัฒนาตนเองและครอบครัว (กพช.2) โดยคณะกรรมการพิจารณาและประเมินผลการปฏิบัติโครงการจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต ดังต่อไปนี้
ตารางประเมินผลการทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตเพื่อพัฒนาตนเองและครอบครัว
ประเด็นที่ใช้พิจารณา |
คะแนนเต็ม |
หมายเหตุ |
|
เต็ม |
ที่ได้ |
||
1. ประโยชน์ที่ตนเองได้รับ 2. ประโยชน์ที่ครอบครัวได้รับ 3. ระดับความยากง่ายในการปฏิบัติงานต้องใช้ความคิด กำลังงานรวมทั้งมีขั้นตอนในการดำเนินที่ซับซ้อน 4. การมีส่วนร่วมของผู้เรียนและครอบครัว 5. ความเหมาะสมในการใช้เวลาในการปฏิบัติงานตามโครงการ 6. ปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จ 7. ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ |
20 20 20
10 10
10 10 |
|
|
รวม |
100 |
|
|
หมายเหตุ ผู้เรียนต้องได้คะแนนรวมไม่น้อยกว่าร้อยละ 70
2.2 การประเมินผลการจัดทำโครงการกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตเพื่อพัฒนาชุมชนและสังคม (กพช.3) โดยคณะกรรมการพิจารณาและประเมินผลการปฏิบัติโครงการจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต ดังต่อไปนี้
ตารางประเมินผลการทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตเพื่อพัฒนาชุมชนและสังคม
ประเด็นที่ใช้พิจารณา |
คะแนนเต็ม |
หมายเหตุ |
|
เต็ม |
ที่ได้ |
||
1. ประโยชน์ที่ชุมชนและสังคมได้รับ 2. การใช้กระบวนการกลุ่ม 3. ความยากง่ายในการดำเนินงาน 4. การมีส่วนร่วมของคนในชุมชน 5. ความเหมาะสมในการใช้เวลาปฏิบัติงาน 6. ปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จ 7. ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ |
20 20 20 10 10 10 10 |
|
|
รวม |
100 |
|
|
หมายเหตุ ผู้เรียนต้องได้คะแนนรวมไม่น้อยกว่าร้อยละ 70
³เกณฑ์การพิจารณาการประเมินกิจกรรมพัฒนาคุณภาพภาคปฏิบัติ (กพช.2, กพช.3)
ผู้เรียนต้องได้คะแนนรวมไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 จึงจะถือว่าผ่าน
³เกณฑ์การผ่านกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต (กพช.)
- ผู้เรียนต้องมีเวลาเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ภาคทฤษฎีและปฏิบัติกิจกรรมภาคปฏิบัติ รวมไม่น้อยกว่า 200 ชั่วโมง
- โครงการภาคปฏิบัติต้องบรรลุวัตถุประสงค์ โดยมีชิ้นงานและเอกสารรายงานแสดง
³แบบประเมินและแบบรายงานกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต
การประเมินกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต จำเป็นต้องมีการรายงานผลการประเมินเป็นรายภาคเรียน เพื่อบันทึกข้อมูลรวบรวมไว้ในระบบ IT เป็นรายบุคคล ดังนั้น เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ปฏิบัติให้สามารถปฏิบัติงานได้ถูกต้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกลุ่มเป้าหมายพิเศษ จึงกำหนดแบบฟอร์มการประเมินและแบบรายงานผลการประเมินแสดงไว้ดังนี้